โลโก้เว็บไซต์ หุ่นยนต์ผัดไทย นักศึกษา วิศวะฯมทร.ล้านนา พร้อมสู้ศึกหุ่นยนต์ประกอบอาหารงานเวิลด์ไดแด็คเอเซีย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ | ศูนย์เเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชั่น

หุ่นยนต์ผัดไทย นักศึกษา วิศวะฯมทร.ล้านนา พร้อมสู้ศึกหุ่นยนต์ประกอบอาหารงานเวิลด์ไดแด็คเอเซีย ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 16 มกราคม 2563 โดย ธรายุทธ กิตติวรารัตน์ จำนวนผู้เข้าชม 6 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

        ผัดไทย จานใหญ่ กลิ่นหอมชวนชิม รสชาติอร่อยไม่แพ้ใคร มองดูหน้าตาอาหารหลายคนคงคิดว่าเป็นร้านเด็ดร้านดังที่ไหนสักแห่ง แต่ใครจะรู้ว่านี่เป็นฝีมือการปรุงอาหารของหุ่นยนต์ แขนกลอัจฉริยะ ภายใต้การเขียนคำสั่งการควบคุมการทำงานซึ่งออกแบบโดยนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา  ประกอบด้วย นายสหัสวรรษ นิคม นักศึกษา ปวส.ไฟฟ้า นายไพบูรณ์ อินทะซาว นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิศวกรรมระบบควบคุมฯและนายนายคุณานนท์ สิงห์เหาะ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิศวกรรมระบบควบคุมฯ  ที่เตรียมความพร้อมเข้าร่วมการแข่งขัน “การควบคุมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี อุตสาหกรรม 4.0 ครั้งที่ 2”  (Thailand Competition on Robotic and Automation Control using Industry 4.0 Technology 2nd) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  พร้อมทุนการศึกษาและของรางวัลมูลค่ากว่า 6 แสนบาท ประเภทการแข่งขันหุ่นยนต์ประกอบอาหาร (ผัดไทย) (Competition on Pad Thai Cooking Robot) ในงานเวิลด์ไดแด็คเอเซีย ระหว่างวันที่ 9 – 11 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ซึ่งมีทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 23 ทีม ระดับอาชีวศึกษา 19 ทีม และระดับอุดมศึกษา 4 ทีม โดยการแข่งขันครั้งนี้ภายใต้การควบคุมทีมของอาจารย์จักรินทร์ ถิ่นนครและอาจารย์ธรายุทธ กิตติวรารัตน์ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร่วมในกระบวนการคิดวิเคราะห์และออกแบบการทำงานของหุ่นยนต์และนำความรู้ความสามารถมาประยุกต์ใช้กับการแข่งขัน เพื่อเป็นการพัฒนาสมรรถนะกำลังคนให้มีความพร้อมสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคตส่งเสริมให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การควบคุมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์เชื่อมในงานอุตสาหกรรม ตอบโจทย์ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในการนำไปใช้งาน พร้อมสนับสนุนการยกระดับคุณภาพของครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษาให้มีความรู้การใช้งานเครื่องมือ เครื่องจักร และหุ่นยนต์ที่ใช้ระบบควบคุมสั่งการด้วยระบบอัตโนมัติ จนเกิดความทักษะความชำนาญสามารถปฏิบัติงานได้จริง และเป็นจุดเริ่มต้นแรกในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีในอนาคต






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา